วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ผลการออกเสียงประชามติ 8 สิงหาคม 2559;ไม่เป็นทางการออกแล้ว

   ประกาศผลอย่างไม่เป็นทางการแล้วว่ามีการออกมาใช้สิทธิ์ในการออกเสียงประชามติกันอย่างมากมายถึงแม้จะน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งใว้ร้อยละ 80
   จากข่าว ผู้จัดการออนไลน์/การเมือง รายงานผลว่า
   

โหวตเยส! ผลประชามติ “รับร่างรัฐธรรมนูญ-คำถามพ่วง” ท่วมท้น



 ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ การออกเสียงประชามติ 2559 พบร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบมากถึง 15.56 ล้านเสียง ไม่เห็นชอบ 9.7 ล้านเสียง ส่วนคำถามพ่วง เห็นชอบ 13.96 ล้านเสียง ไม่เห็นชอบ 10 ล้านเสียงเศษ รอนายกรัฐมนตรีรายงานผลอย่างเป็นทางการ
       
       วันนี้ (7 ส.ค.) เมื่อเวลา 19.33 น. ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ จากศูนย์แถลงข่าวการจัดการออกเสียงประชามติ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หลังนับคะแนนได้ร้อยละ 94 จากจำนวนผู้มาใช้สิทธิทั้งประเทศ 27,623,126 คน พบว่า ประเด็นคำถามที่ 1 ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2559 ทั้งฉบับ พบว่ามีผู้เห็นชอบ 15,562,027 คน คิดเป็นร้อยละ 61.40 ไม่เห็นชอบ 9,784,680 คน คิดเป็นร้อยละ 38.60
       
       ส่วนประเด็นคำถามที่ 2 ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี พบว่ามีผู้เห็นชอบ 13,969,594 คน คิดเป็นร้อยละ 58.11 ไม่เห็นชอบ 10,070,599 คน คิดเป็นร้อยละ 41.89
       
       ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ระบุว่า เมื่อแสดงผลการออกเสียงถึงร้อยละ 95 ของจํานวนหน่วยออกเสียง ให้หยุดการแสดงผลการออกเสียงต่อสาธารณะ และเมื่อ กกต.ได้รับรายงานผลการนับคะแนนออกเสียงจากหน่วยออกเสียงทุกหน่วยทั้งประเทศ หากไม่มีการร้องคัดค้าน ให้ กกต.ประกาศผลการออกเสียงและจํานวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
       
       "ใต้" เห็นชอบพุ่ง แต่ 3 จังหวัดชายแดน "โหวตโน" ท่วม
       
       รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อตรวจสอบผลการนับคะแนนรายภาค พบว่าภาคใต้ ซึ่งมีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 7,232,962 คน มีสัดส่วนผู้เห็นชอบทั้งร่างรัฐธรรมนูญมากที่สุด 2,606,023 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 ไม่เห็นชอบ 782,043 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 ขณะที่คำถามพ่วง พบว่ามีผู้เห็นชอบ 2,441,810 คน คิดเป็นร้อยละ 74.60 ไม่เห็นชอบ 831,609 คน คิดเป็นร้อยละ 25.40 โดยพบว่าจังหวัดภาคใต้ที่ไม่เห็นชอบทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
       
       ส่วนภาคกลาง ซึ่งมีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 17,299,507 คน พบว่า มีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 5,887,881 คน คิดเป็นร้อยละ 69.46 ไม่เห็นชอบ 2,588,765 คน คิดเป็นร้อยละ 30.54 ส่วนคำถามพ่วง พบว่ามีผู้เห็นชอบ 5,387,693 คน คิดเป็นร้อยละ 66.17 ไม่เห็นชอบ 2,754,534 คน คิดเป็นร้อยละ 33.83
       
       โดยพบว่ากรุงเทพมหานคร มีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 1,355,618 คน คิดเป็นร้อยละ 69.43 ไม่เห็นชอบ 596,820 คน คิดเป็นร้อยละ 30.57 ขณะที่คำถามพ่วงมีผู้เห็นชอบ 1,259,913 คน คิดเป็นร้อยละ 65.95 ไม่เห็นชอบ 650,601 คน คิดเป็นร้อยละ 34.05 จากผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 4,483,075 คน
       
       "เหนือ-อีสาน" พร้อมใจกันคว่ำร่างฯ
       
       ขณะที่ภาคเหนือ ซึ่งมีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 9,043,219 คน พบว่า มีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2,670,467 คน คิดเป็นร้อยละ 57.70 ไม่เห็นชอบ 1,957,746 คน คิดเป็นร้อยละ 42.30 ส่วนคำถามพ่วง พบว่ามีผู้เห็นชอบ 2,337,276 คน คิดเป็นร้อยละ 54.14 ไม่เห็นชอบ 1,979,599 คน คิดเป็นร้อยละ 45.86
       
       โดยพบว่าจังหวัดที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงมี 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา ส่วนจังหวัดที่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เห็นชอบคำถามพ่วง ได้แก่ ลำพูน ลำปาง น่าน และแพร่
       
       ซึ่งพบว่า จ.เชียงใหม่ ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย นายทักษิณ ชินวัตร และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พบว่ามีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 330,568 คน คิดเป็นร้อยละ 45.65 ไม่เห็นชอบ 393,571 คน คิดเป็นร้อยละ 54.35 ขณะที่คำถามพ่วงมีผู้เห็นชอบ 288,318 คน คิดเป็นร้อยละ 42.38 ไม่เห็นชอบ 392,018 คน คิดเป็นร้อยละ 57.62 จากผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 1,291,364 คน
       
       ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 17,009,430 คน พบว่า มีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 3,923,855 คน คิดเป็นร้อยละ 48.58 ไม่เห็นชอบ 4,153,178 คน คิดเป็นร้อยละ 51.42 ส่วนคำถามพ่วง พบว่ามีผู้เห็นชอบ 3,371,333 คน คิดเป็นร้อยละ 44.56 ไม่เห็นชอบ 4,193,796 คน คิดเป็นร้อยละ 55.44
       
       โดยพบว่าจังหวัดที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ และ ศรีสะเกษ ส่วนจังหวัดที่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เห็นชอบคำถามพ่วง ได้แก่ เลย อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
       
       ส่วน จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พบว่ามีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 690,698 คน คิดเป็นร้อยละ 64.09 ไม่เห็นชอบ 387,028 คน คิดเป็นร้อยละ 35.91 ขณะที่คำถามพ่วงมีผู้เห็นชอบ 613,111 คน คิดเป็นร้อยละ 60.48 ไม่เห็นชอบ 400,675 คน คิดเป็นร้อยละ 39.52 จากผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 2,054,425 คน 
  เรามาดูว่าจังหวัดชัยภูมิ การออกมาลงประชามติเป็นอย่างไร กัน ตามตารางครับ
   

      มีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 419,020 คน พบว่า มีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 191,513 คน คิดเป็นร้อยละ 45.70 ไม่เห็นชอบ 227,507 คน คิดเป็นร้อยละ 54.30 ส่วนคำถามพ่วง พบว่ามีผู้เห็นชอบ 164,172 คน คิดเป็นร้อยละ 42.35 ไม่เห็นชอบ 223,398 คน คิดเป็นร้อยละ 57.65
       

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รณรงค์ลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559: อำเภบำเหน็จณรงค์ ชัยภูมิ

7 สิงหาคม 2559 เวลา 8.00 น.- 16.00 น. เราชาวไทยทุกคนที่มีรายชื่อให้ไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ห้ามพลาด เวลาแบบนี้เราต้องให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญที่จะมีการประกาศใช้ในเร็ววันนี้
    นายไพทูรย์ มหาชื่นใจ นายอำเภอบำเหน็จณรงค์ ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลบำเหน็จณรงค์ ส่วนราชการ สถานีตำรวตภูธรบำเหน็จณรงค์ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชวน  อสม.บ้านชวนและคณะประชาชนอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันรณรงค์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559
    ในช่วงนี้ทางอำเภอบำเหน็จณรงค์ ได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับทีม ครู ข, ครู ค มีการประชาสัมพันธ์ ความรู้และข่าวสารต่างๆให้พ่อแม่พี่น้อง ชาวอำเภอบำเหน็จณรงค์ ทราบข้อมูล โดยให้มีการรณรงค์ในทุกหลังคาเรือน เพื่อแจ้งข่าวสารและรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ของตนเอง
   
   

 นายไพทูรย์ มหาชื่นใจ นายอำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นประธาน



นายวิชัย พิไลกุล สสอ.บำเหน็จณรงค์



ผอ.นิพนธ์ พั่วสำโรง ผอ.อานุภาพ ภูวดลผาแดง

ปลัดสุทิน เทศบาลตำบลบำเหน็จณรงค์ ผอ.สุรชัย กำเนิดคำ

ดร.สักรินทร์ ไกรษร ผอ.รพ.สต.บ้านชวน
ประธาน ศสปชต.บ้านชวน










เมื่อขา..ก็นั่งรณรงค์ได้ครับป้า

























ทีมน้องๆจาก อบต.บ้านชวน




การปกครองที่ประชาชนเป็นคนเลือกเองกับรัฐธรรมนูญที่กำลังจะคลอดหรือคลอดไม่ได้ อีกไม่กี่อึดใจก็จะทราบแล้วว่าประชาชน รับ หรือ ไม่รับ




วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 เพลงรณรงค์ไปออกเสียงประชามติ

7 สิงหาคม 2559 เป็นวันสำคัญของประเทศไทยที่จะแสดงอำนาจอธิปไตย ด้วยการแสดงสิทธิ์ว่า ไม่รับ หรือรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด วันนี้เลยเอาเพลงประชาสัมพันธ์ที่ตนเองฟังแล้วถูกใจวัยโจ๋ ขนาดเจ้า...มาฝากเพื่อๆที่ชอบฟังเพลงครับ
  หวังว่าทุกท่านที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจะไปใช้สิทธิ์ในการออกเสียง รับ-ไม่รับ ในครั้งนี้นะครับ



7 สิงหาคม 2559 ออกไปแสดงความคิดเห็นกันมากๆเลยนะครับ

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

7 สิงหาคม 2559 ร่วมกัน ออกเสียงประชามติ "ร่างรัฐธรรมนูญ และประเด็นเพิ่มเติม"


   

คณะกรรมการการเลือกตั้ง เดินหน้าจัดให้มีการออกเสียงประชามติ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีหน้าที่ในการดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติและประกาศผลการออกเสียงประชามติ รวมทั้งจัดพิมพ์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญ คำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นเพิ่มเติมและคำอธิบายหลักการและเหตุผลของประเด็นเพิ่มเติม เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจอย่างทั่วถึง ภายใต้หลัก 3 ป. คือ ประชาชนสะดวก ประชามติเที่ยงธรรม และ ประชาธิปไตยคุณภาพ

2 เรื่อง ที่คนไทยจะไปออกเสียงประชามติ  

  1. ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช …. ทั้งฉบับ
  2. ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ประเด็นเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”

เนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ กกต.จังหวัด..หรือ ร่างมติ



วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มติกกต.สั่งปลด"ภุชงค์" พ้น'เลขาฯกกต.'มีผลทันที | เดลินิวส์ „มติกกต.สั่งปลด"ภุชงค์" พ้น'เลขาฯกกต.'มีผลทันที

มติกกต.สั่งปลด"ภุชงค์" พ้น'เลขาฯกกต.'มีผลทันที | เดลินิวส์
„มติที่ประชุม"กกต." 4:1 ปลด"ภุชงค์ นุตราวงศ์'ออกจากเลขาธิการกกต. เหตุไม่ผ่านการประเมิน-ทำหลายโครงการล่าช้า ตั้ง"บุณยเกียรติ"รักษาการแทน“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/365820

'ภุชงค์'เศร้าพ้นเลขาฯกกต. ยื่นอุทธรณ์'5เสือ'ที่เลิกจ้าง! | เดลินิวส์
„เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ อดีตเลขาธิการ กกต. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ประชุมกรรมการ กกต.มีมติเลิกจ้าง เนื่องจากผลการดำเนินงานไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ว่า หลังจากนี้ตนจะยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ กกต. ภายใน 15 วัน แต่หาก กกต.ยังยืนยันมติเดิมตนก็จะยื่นต่อศาลปกครองเพื่อขอความเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่องค์กร และยืนยันว่าตนไม่ต้องการกลับมารับตำแหน่งเลขาธิการ กกต.อีกต่อไป ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าตลอด 18 ปีที่ผ่านมา ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่การทำงานกับคณะกรรมการ กกต.ชุดนี้ ตลอด 2 ปีนั้นมีการล้วงลูกการทำงานภายในสำนักงาน ทั้ง ๆ ที่เป็นอำนาจของเลขาธิการซึ่งต่างจากกรรมการชุดก่อนหน้านี้ ที่ให้เกียรติการทำงานของสำนักงานมาโดยตลอด กลายเป็นว่ากรรมการอยากทำอะไรก็ได้ เพียงแค่มีมติ กกต. มีการเข้ามาล้วงลูกการทำงาน โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่มีการตั้งขึ้นเงินเดือนที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญประจำตัว กกต.แต่ละคน ทำให้แต่ละเดือน กกต.ต้องจ่ายเงินให้กับคนเหล่านั้นถึง 2 ล้านบาท เป็นเงิน 24 ล้านบาทต่อปี ทำให้ขณะนี้งบของ กกต.ร่อยหรอลงมาก นอกจากนั้นการดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ จนเป็นผลให้มีความล่าช้า เพราะทุกโครงการถูกกรรมการ กกต.สั่งรื้อ ถูกสั่งให้แก้ไขและบางโครงการกรรมการ กกต.ก็มีคำสั่งให้ขยายเวลาการดำเนินโครงการออกไปเอง และบางโครงการก็สั่งระงับ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ และในการประเมินผลการทำงานที่ผ่านมาก็ไม่เคยเปิดโอกาสให้ตนเข้าไปชี้แจงเลย “ผมไม่น้อยใจที่โดนทำแบบนี้ ที่โดนปลดกลางอากาศ แต่ขอเรียกร้องให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) โดยเฉพาะนายอภิชาต สุขัคคานนท์ อดีต ประธาน กกต.และนายประพันธ์ นัยโกวิท อดีต กกต. เขียนรัฐธรรมนูญกำหนดโครงสร้างขอบเขตอำนาจของกรรมการ กกต. กับสำนักงาน กกต. ให้มีเส้นแบ่งที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการล้วงลูกอย่างที่เกิดขึ้น ถึงแม้ กรธ.จะให้คณะกรรมการชุดนี้มีวาระอยู่อีก 7 ปีก็ไม่เป็นไร แต่ต้องเขียนกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้มีการล้วงลูก และไม่ให้มีเจ้าหน้าที่ถูกกระทำเหมือนผมอีก”นายภุชงค์ กล่าว นายภุชงค์ กล่าวอีกว่า หลังจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ ตนรู้สึกดีใจมาก เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน กกต.ต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์เอกสารร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 20 ล้านฉบับ ซึ่งในขณะนั้นมีใบสั่งเรื่องเกี่ยวกับโรงพิมพ์สะพัด ทั้งที่ กกต.อยากให้มีโรงพิมพ์ทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมพิมพ์ ไม่ใช่ให้โรงพิมพ์เดียวมารับงาน และอยากให้จับตาดูการพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ว่าจะเป็นอย่างไร ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการให้สัมภาษณ์ นายภุชงค์มีน้ำตาคลอเบ้า ตาแดงกล่ำ และในช่วงหนึ่งนายภุชงค์พยายามที่จะเข้าไปแนะนำตัวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ที่เดินทางมาร่วมงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากลที่จัดขึ้นบริเวณใกล้กัน และหลังจากการให้สัมภาษณ์ก็มีเข้าหน้าที่สำนักงาน กกต.หลายคนมามอบดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจให้นายภุชงค์ด้วย ก่อนที่นางพรวรินทร์ นุตราวงศ์ ภรรยานางภุชงค์ จะโผเข้ากอดเพื่อให้กำลังใจก่อนที่นายภุชงค์จะเดินทางไปเก็บของในห้องทำงาน.“


อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/365983

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศสปชต.บ้านชวน : ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคโลหิตและอวัยวะ


ด้วยวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘ เหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ ได้ออกรับบริจาคโลหิต ดวงตา และอวัยวะ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ห้องประชุมอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เวลา ๐๘.๓๐-๑๑.๒๐ น. เพื่อนำโลหิตไปช่วยเหลือผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ
   ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลบ้านชวน (ศสปชต.บ้านชวน) จึงขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา ผู้ที่เคยบริจาคโลหิต ได้ร่วมกิจกรรมอันกุศลนี้ ตามวันและเวลาดังกล่าว และขอขอบพระคุณในความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ ครับ



แผนดำเนินงาน ปี 2558

แผนปฏิบัติงานการดำเนินงาน
ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลบ้านชวน
อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ปี 2558

ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
4 พ.ค.58
การร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่
ประชุม ประจำเดือนกำนัน ผญบ.
ห้องประชุม อำเภอบำเหน็จณรงค์

100
2
14 พ.ค.58
หน้าที่พลเมืองของผู้สูงอายุ
(จ่ายเบี้ยยังชีพ)
ศาลาบ้านตะกอ

50
3
28 พ.ค.58
หน้าที่พลเมืองของประชาชน
(บริจาคโลหิต)
ห้องประชุม อำเภอบำเหน็จณรงค์

200

สรุปผลการดำเนินงาน
          ดำเนินการตามแผนฯ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี มีคำถามบ้างเกี่ยวกับ การร่างรัฐธรรมนูญ และ บทบาทที่ชัดเจนของ อสม.ในด้านการเมือง

ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
5 มิ.ย.58
ต้นไม้ ประชาธิปไตย บุคลากรสาธารณสุข
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

60
2
12 มิ.ย.58
หน้าที่พลเมืองของ อสม.เขตเทศบาล
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

150
3
24 มิ.ย.58
บทบาทของ อสม.กับหน้าที่พลเมือง
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

70

ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
2 ก.ค.58
ต้นไม้ ประชาธิปไตย
ประชุม ประจำเดือนกำนัน ผญบ.
ห้องประชุม อำเภอบำเหน็จณรงค์

200
2
22 ก.ค.58
หน้าที่พลเมือง ประชาชนทั่วไป
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

50
3
28 ก.ค.58
บทบาทของ อสม.กับหน้าที่พลเมือง
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

70

สรุปผลการดำเนินงาน
          ดำเนินการตามแผนฯ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ไม่มีคำถาม

ประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
3 ส.ค.58
พลเมืองคุณภาพ
ประชุม ประจำเดือนกำนัน ผญบ.
ห้องประชุมอำเภอบำเหน็จณรงค์

60
2
10 ส.ค.58
พลเมืองคุณภาพ
ประชาชนทั่วไป
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

90
3
26 ส.ค.58
พลเมืองคุณภาพ

ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

70

สรุปผลการดำเนินงาน
          ดำเนินการตามแผนฯ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ไม่มีคำถาม

 ประจำเดือน กันยายน พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
2 ก.ย.58
พลเมืองคุณภาพ สถานการณ์ไข้เลือดออก
ประชุม ประจำเดือนกำนัน ผญบ.
ห้องประชุมอำเภอบำเหน็จณรงค์

200
2
4 ก.ย.58
พลเมืองคุณภาพ
ประชุม จนท.สาธารณสุข
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

40
3
22 ก.ย.58
พลเมืองคุณภาพ กศน.

กศน.อำเภอบำเหน็จณรงค์

70

สรุปผลการดำเนินงาน
          ดำเนินการตามแผนฯ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ไม่มีคำถาม

บรรยากาศการประชุม