วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มติกกต.สั่งปลด"ภุชงค์" พ้น'เลขาฯกกต.'มีผลทันที | เดลินิวส์ „มติกกต.สั่งปลด"ภุชงค์" พ้น'เลขาฯกกต.'มีผลทันที

มติกกต.สั่งปลด"ภุชงค์" พ้น'เลขาฯกกต.'มีผลทันที | เดลินิวส์
„มติที่ประชุม"กกต." 4:1 ปลด"ภุชงค์ นุตราวงศ์'ออกจากเลขาธิการกกต. เหตุไม่ผ่านการประเมิน-ทำหลายโครงการล่าช้า ตั้ง"บุณยเกียรติ"รักษาการแทน“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/365820

'ภุชงค์'เศร้าพ้นเลขาฯกกต. ยื่นอุทธรณ์'5เสือ'ที่เลิกจ้าง! | เดลินิวส์
„เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ อดีตเลขาธิการ กกต. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ประชุมกรรมการ กกต.มีมติเลิกจ้าง เนื่องจากผลการดำเนินงานไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ว่า หลังจากนี้ตนจะยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ กกต. ภายใน 15 วัน แต่หาก กกต.ยังยืนยันมติเดิมตนก็จะยื่นต่อศาลปกครองเพื่อขอความเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่องค์กร และยืนยันว่าตนไม่ต้องการกลับมารับตำแหน่งเลขาธิการ กกต.อีกต่อไป ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าตลอด 18 ปีที่ผ่านมา ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่การทำงานกับคณะกรรมการ กกต.ชุดนี้ ตลอด 2 ปีนั้นมีการล้วงลูกการทำงานภายในสำนักงาน ทั้ง ๆ ที่เป็นอำนาจของเลขาธิการซึ่งต่างจากกรรมการชุดก่อนหน้านี้ ที่ให้เกียรติการทำงานของสำนักงานมาโดยตลอด กลายเป็นว่ากรรมการอยากทำอะไรก็ได้ เพียงแค่มีมติ กกต. มีการเข้ามาล้วงลูกการทำงาน โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่มีการตั้งขึ้นเงินเดือนที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญประจำตัว กกต.แต่ละคน ทำให้แต่ละเดือน กกต.ต้องจ่ายเงินให้กับคนเหล่านั้นถึง 2 ล้านบาท เป็นเงิน 24 ล้านบาทต่อปี ทำให้ขณะนี้งบของ กกต.ร่อยหรอลงมาก นอกจากนั้นการดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ จนเป็นผลให้มีความล่าช้า เพราะทุกโครงการถูกกรรมการ กกต.สั่งรื้อ ถูกสั่งให้แก้ไขและบางโครงการกรรมการ กกต.ก็มีคำสั่งให้ขยายเวลาการดำเนินโครงการออกไปเอง และบางโครงการก็สั่งระงับ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ และในการประเมินผลการทำงานที่ผ่านมาก็ไม่เคยเปิดโอกาสให้ตนเข้าไปชี้แจงเลย “ผมไม่น้อยใจที่โดนทำแบบนี้ ที่โดนปลดกลางอากาศ แต่ขอเรียกร้องให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) โดยเฉพาะนายอภิชาต สุขัคคานนท์ อดีต ประธาน กกต.และนายประพันธ์ นัยโกวิท อดีต กกต. เขียนรัฐธรรมนูญกำหนดโครงสร้างขอบเขตอำนาจของกรรมการ กกต. กับสำนักงาน กกต. ให้มีเส้นแบ่งที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการล้วงลูกอย่างที่เกิดขึ้น ถึงแม้ กรธ.จะให้คณะกรรมการชุดนี้มีวาระอยู่อีก 7 ปีก็ไม่เป็นไร แต่ต้องเขียนกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้มีการล้วงลูก และไม่ให้มีเจ้าหน้าที่ถูกกระทำเหมือนผมอีก”นายภุชงค์ กล่าว นายภุชงค์ กล่าวอีกว่า หลังจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ ตนรู้สึกดีใจมาก เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน กกต.ต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์เอกสารร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 20 ล้านฉบับ ซึ่งในขณะนั้นมีใบสั่งเรื่องเกี่ยวกับโรงพิมพ์สะพัด ทั้งที่ กกต.อยากให้มีโรงพิมพ์ทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมพิมพ์ ไม่ใช่ให้โรงพิมพ์เดียวมารับงาน และอยากให้จับตาดูการพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ว่าจะเป็นอย่างไร ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการให้สัมภาษณ์ นายภุชงค์มีน้ำตาคลอเบ้า ตาแดงกล่ำ และในช่วงหนึ่งนายภุชงค์พยายามที่จะเข้าไปแนะนำตัวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ที่เดินทางมาร่วมงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากลที่จัดขึ้นบริเวณใกล้กัน และหลังจากการให้สัมภาษณ์ก็มีเข้าหน้าที่สำนักงาน กกต.หลายคนมามอบดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจให้นายภุชงค์ด้วย ก่อนที่นางพรวรินทร์ นุตราวงศ์ ภรรยานางภุชงค์ จะโผเข้ากอดเพื่อให้กำลังใจก่อนที่นายภุชงค์จะเดินทางไปเก็บของในห้องทำงาน.“


อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/365983

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศสปชต.บ้านชวน : ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคโลหิตและอวัยวะ


ด้วยวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘ เหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ ได้ออกรับบริจาคโลหิต ดวงตา และอวัยวะ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ห้องประชุมอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เวลา ๐๘.๓๐-๑๑.๒๐ น. เพื่อนำโลหิตไปช่วยเหลือผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ
   ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลบ้านชวน (ศสปชต.บ้านชวน) จึงขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา ผู้ที่เคยบริจาคโลหิต ได้ร่วมกิจกรรมอันกุศลนี้ ตามวันและเวลาดังกล่าว และขอขอบพระคุณในความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ ครับ



แผนดำเนินงาน ปี 2558

แผนปฏิบัติงานการดำเนินงาน
ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลบ้านชวน
อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ปี 2558

ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
4 พ.ค.58
การร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่
ประชุม ประจำเดือนกำนัน ผญบ.
ห้องประชุม อำเภอบำเหน็จณรงค์

100
2
14 พ.ค.58
หน้าที่พลเมืองของผู้สูงอายุ
(จ่ายเบี้ยยังชีพ)
ศาลาบ้านตะกอ

50
3
28 พ.ค.58
หน้าที่พลเมืองของประชาชน
(บริจาคโลหิต)
ห้องประชุม อำเภอบำเหน็จณรงค์

200

สรุปผลการดำเนินงาน
          ดำเนินการตามแผนฯ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี มีคำถามบ้างเกี่ยวกับ การร่างรัฐธรรมนูญ และ บทบาทที่ชัดเจนของ อสม.ในด้านการเมือง

ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
5 มิ.ย.58
ต้นไม้ ประชาธิปไตย บุคลากรสาธารณสุข
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

60
2
12 มิ.ย.58
หน้าที่พลเมืองของ อสม.เขตเทศบาล
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

150
3
24 มิ.ย.58
บทบาทของ อสม.กับหน้าที่พลเมือง
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

70

ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
2 ก.ค.58
ต้นไม้ ประชาธิปไตย
ประชุม ประจำเดือนกำนัน ผญบ.
ห้องประชุม อำเภอบำเหน็จณรงค์

200
2
22 ก.ค.58
หน้าที่พลเมือง ประชาชนทั่วไป
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

50
3
28 ก.ค.58
บทบาทของ อสม.กับหน้าที่พลเมือง
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

70

สรุปผลการดำเนินงาน
          ดำเนินการตามแผนฯ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ไม่มีคำถาม

ประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
3 ส.ค.58
พลเมืองคุณภาพ
ประชุม ประจำเดือนกำนัน ผญบ.
ห้องประชุมอำเภอบำเหน็จณรงค์

60
2
10 ส.ค.58
พลเมืองคุณภาพ
ประชาชนทั่วไป
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

90
3
26 ส.ค.58
พลเมืองคุณภาพ

ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

70

สรุปผลการดำเนินงาน
          ดำเนินการตามแผนฯ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ไม่มีคำถาม

 ประจำเดือน กันยายน พ.ศ. 2558

ที่
วัน เดือน ปี
กิจกรรม/โครงการ
สถานที่
จำนวน (คน)
1
2 ก.ย.58
พลเมืองคุณภาพ สถานการณ์ไข้เลือดออก
ประชุม ประจำเดือนกำนัน ผญบ.
ห้องประชุมอำเภอบำเหน็จณรงค์

200
2
4 ก.ย.58
พลเมืองคุณภาพ
ประชุม จนท.สาธารณสุข
ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์

40
3
22 ก.ย.58
พลเมืองคุณภาพ กศน.

กศน.อำเภอบำเหน็จณรงค์

70

สรุปผลการดำเนินงาน
          ดำเนินการตามแผนฯ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ไม่มีคำถาม

บรรยากาศการประชุม








วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เครื่องลงคะแนนเลือกตั้งประเทศไทย

อุปกรณ์เครื่องลงคะแนนเลืิอกตั้ง TVM4 โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเลือกตั้ง
ความเป็นมา
การเลือกตั้งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจาก เป็นกระบวนการที่ทำให้ได้มาซึ่งผู้บริหารประเทศ และผู้แทนประชาชนเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล รวมถึงการออกกฎหมายและนำเสนอปัญหาของประชาชนให้ฝ่ายบริหารรับทราบเพื่อนำไปแก้ไข อันเป็นการสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน
คณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินภารกิจที่สำคัญในการควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องดำเนินการบริหารการจัดการการเลือกตั้งให้เกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลด้วย เพื่อผลในการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
More>> Thai voting machine >>

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ถ่านหินอันตรายหรือไม่จาก HIA Thailand

เราคงได้ยินกันชินหูว่าถ่านหินสะอาด เหมาะสมที่จะนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในปัจจุบัน
แต่ก็มีบทความจาก HIA Thailand ให้ข้อมูลเพื่อให้เราประชาชนได้รับทราบข้อมูลในการตัดสินใจว่าถ่านหินสะอาด นั้นเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในบ้านเรามากน้อยแค่ไหน
สามารถอ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ http://www.thia.in.th/welcome/article_read/24


ภาพถ่านหิน


ภาพโรงงาน

HIA Thailand กล่าวว่า ถ่านหิน 100 เมกกะวัตต์ จะทำให้เกิดสารปรอทประมาณ 10 กิโลกรัม ซึ่งถ่านหินที่จะเป็นเชื้อเพลิงชนิดใหม่ในโรงไฟฟ้าที่ จ.ฉะเชิงเทรา น่าจะทำให้เกิดสารปรอทประมาณ 5-6 กิโลกรัมตามสัดส่วน นอกจากนี้การเผาถ่านหิน 4 ตันจะเกิดขี้เถ้า 1 ตัน และหากมีลมพัด ที่ความเร็ว 5.5-7.9 เมตร ต่อวินาที จะทำให้เถ้าของถ่านหินนั้นฟุ้งกระจายไปได้ไกลครอบคลุมพื้นที่ถึง 150,000 ตารางกิโลเมตร และเงื่อนไขที่สำคัญคือ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดที่มีลมเข้ามาถึง 3 ทิศ ดังนั้นแนวโน้มการฟุ้งกระจายน่าจะสูงขึ้นอีกตามลำดับ

นอกจากสารปรอทและขี้เถ้าแล้ว ยังพบว่า ในระยะเวลา 1 ปี ถ่านหิน โดยเฉพาะถ่านหินพิทูมินัสซึ่งได้ชื่อว่าเป็นถ่านหินที่สะอาดที่สุดในบรรดาถ่านหินทั้งหมด ยังก่อให้เกิดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ถึง 785 ตัน  และก่อให้เกิดฝุ่นมากถึง 72,000 กิโลกรัมต่อปี ที่สำคัญคือ ฝุ่นที่ออกมาจากถ่านหินนั้น มีสารเคมีอย่างอื่นปนเปื้อนออกมาด้วย เช่น สารปรอท พบว่า ใน 1 ปี จะมีสารปรอทออกมาจากเถ้าของถ่านหิน มากถึง 112 กิโลกรัม ถือว่าอันตรายมาก เพราะปรอทเป็นสารที่สลายตัวยาก และสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมยาวนานมาก เช่น ลงไปในน้ำ สะสมในสัตว์น้ำ คนกินเข้าไปก็จะไปสะสมในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายต่างๆ มากมาย

"มลพิษทางอากาศ" ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง แก๊สชนิดต่างๆ ฝุ่นละอองมลพิษที่โรงกลั่นปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ได้แก่ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อปล่อยสู่อากาศจะทำปฏิกิริยากับไอน้ำกลายเป็นกรดซัลฟิวริกและเกลือซัลเฟต เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ พืชพันธุ์ไม้น้ำ และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ สารพิษต่างๆ สะสมในห่วงโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์กินปลาหรือสัตว์น้ำเหล่านั้นเข้าไปจะได้รับพิษด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ปล่องของโรงกลั่นน้ำมันยังปล่อยฝุ่นละอองออกมา  ซึ่งเป็นฝุ่นขนาดเล็กอันตรายต่อสุขภาพของคนมากที่สุด  เนื่องจากฝุ่นเล็กจะผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และเข้าสู่ปอด ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้โดยตรง

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดมีรายงานว่า ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 0.625-2.5 ไมครอน จะเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงผ่านการหายใจ  มีสารปรอทและโลหะหนักเกาะไปกับฝุ่นพวกนี้ด้วย นอกจากนี้ยังน่ากังวลในเรื่องผลกระทบทางน้ำ เพราะฝุ่นขนาดเล็กมากและโลหะที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าอาจจะไปปนเปื้อนในน้ำ และดิน ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและต้นไม้ โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรอีกด้านหนึ่งด้วย

โดยสรุปแล้วจากผลการศึกษาของหลายประเทศสะท้อนว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินก่อให้มลพิษด้านต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง คือ โลหะ แก๊สจำพวกไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ปรอท  และจากกระบวนการเผาไหม้ ได้แก่ ไดออกซิน, ฟูเรน, กัมมันตภาพรังสี เป็นต้น พิษภัยของสารเคมีทั้งชื่อคุ้นหูและไม่คุ้นหูเหล่านี้ กระทบตั้งแต่ระบบสืบพันธุ์ ระบบฮอร์โมน ระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด กระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจ ปอด ตับ ไต สมอง ไล่เรียงไปจนถึงสะสมในร่างกายแปลงเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นต้น
เนื้อหาเพิ่มเติม <<คลิก>>>

ขอขอบคุณข้อมูลจาก HIA Thailand

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครือข่ายรักษ์บำเหน็จณรงค์ "ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน" ดีใจได้เฮ!

เครื่อข่ายรักษ์บำเหน็จณรงค์ "ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน" 
และประชาชนอำเภอบำเหน็จณรงค์ จัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ชาวด่านขุนทด จังหวัด นครราชสีมา ดีใจมากหลังทราบข่าว เหมืองแร่โปแตช บำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เห็นด้วยที่จะไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ..ตามข่าว คนชายข่าว คนชายขอบ ดังนี้
           วันที่ 6 กรกฏาคม 2558 ที่อาคารมูลนิธิเมตตาการกุศล เทศบาลตำบลบ้านเพชร อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ได้จัดประชุมประจำปีขึ้น โดยมีคณะกรรมการและสมาชิกของมูลนิธิเข้าร่วมประมาณ 200 คน โดยก่อนหน้านี้บริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด(มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ เพิ่งได้รับประทานบัตรเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 และมีโครงการจะขออนุญาตตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ด้วยเพื่อนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ในกิจการ และได้ทำหนังสือขอเข้าร่วมชี้แจงเรื่องนี้ แต่ชาวบ้านที่คัดค้านโครงการซึ่งได้รวมตัวกันในนามเครือข่ายรักษ์บำเหน็จณรงค์ ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทราบข่าว จึงส่งตัวแทนเข้าร่วมด้วย
             ภายหลังที่ประชุมชี้แจงรายรับรายจ่ายประจำปีของมูลนิธิเสร็จ ทางตัวแทนของบริษัทโดยการนำของ พล.ท.นพ.มงคล จิระสันติการ กรรมการบริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด(มหาชน) ได้พยายามอธิบายให้เห็นผลดีของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ตัวแทนของชาวบ้านโดยการนำของนายพุฒิพงศ์ สงวนวงศ์ชัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาชัยภูมิ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดชัยภูมิ ไม่เห็นด้วยเพราะเกรงบริษัทจะควบคุมผลกระทบไม่ได้ อีกทั้งพื้นที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพราะมีหมู่บ้านอยู่แวดล้อมไปหมด ให้เปลี่ยนไปสร้างพลังงานหมุนเวียนแทน
           ทั้งนี้ผู้แทนบริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด(มหาชน) ก็บอกสั้นๆ ว่าถ้าสร้างไม่ได้ก็ไม่สร้าง แต่ไม่ได้บอกว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ก่อนหน้านี้บริษัทได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 แต่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย และทำให้ชาวบ้านทั่วไปได้ทราบข้อเท็จจริงว่าบริษัทจะขอตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วย ตั้งแต่นั้นมาทุกหมู่บ้านจึงรวมตัวกันคัดค้านอย่างจริงจัง ปัจจุบันมีป้ายคัดค้านขึ้นทุกพื้นที่ของอำเภอบำเหน็จณรงค์ ....ขอบคุณเนื้อหาและภาพโดย เบญจพรรณ ผลัดใบ เนื้อหาต้นฉบับ คลิก!



วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิวาทะโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่จากพรรณทิพา จิตราวุฒิพรคมชัดลึก

กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่ ไม่ต่างจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เพราะที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ ชาวบ้านทราบว่ามีไฟฟ้าจำนวนมาก และมีมากพอในการทำเหมืองแร่ แต่ก็มีชาวบ้านหลายๆหมู่บ้านไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใกล้บ้านเรือนของพวกเขา..
 ชาวบ้านตำบลหัวทะเล กังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นระบบการส่งส่งถ่านหิน การใช้น้ำจำนวนมากในการล้างถ่านหิน การหล่อเย็น และรวมถึงการมีน้ำจากโรงไฟฟ้าหลุดออกมาปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่มัน ไร่พริก ไร่อ้อย ปลูกข้าว และพืชส่วนต่างๆ ถ้าโรงงานเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าถ่านหินมีการนำน้ำจากแหล่งธรรมชาติไปใช้จำนวนมากจะเกิดอะไรขึ้น ชาวบ้านแห้งแล้ง พืชสวนไร่นาเสียหายใช่หรือไม่...สอดคล้องกับรายงานข่าวของ พรรณทิพา จิตราวุฒิพร นักข่าวคมชัดลึก ว่าชาวกระบี่มีความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ และสอดคล้องกับความเห็นจาก นพ.ปรีชา เปรมปรี ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่กล่าวว่า ระหว่างการขนถ่ายถ่านหินจะเกิดฝุ่นละออง รวมถึงกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินก็จะทำให้เกิดน้ำหรือไอน้ำซึ่งมีสารพิษตกค้าง หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี อาจหลุดลอดลงสู่แหล่งน้ำซึ่งจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงอาจป่วยด้วยโรคปอดอักเสบจากฝุ่นถ่านหิน โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ ระบบหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เพราะถ่านหินมีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายเมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์คือ คาร์บอน กำมะถัน โลหะหนักบางชนิด

                "หากสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นจริง จะเกิดผลกระทบตามมาแน่นอนจากสาเหตุหลัก 3 กระบวนการ คือ กระบวนการขนส่ง กระบวนการแปรสภาพ และกระบวนการแปรสภาพเป็นความร้อน ซึ่งในขั้นตอนการขนส่งกับการแปรสภาพนั้นจะทำให้ถ่านหินฟุ้งกระจายไปตามอากาศ เกิดเป็นฝุ่นละอองเล็กๆ ปลิวไปตกตามบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดเป็นคราบถ่านหิน นอกจากนี้ยังมีกระบวนการแปรสภาพเป็นความร้อนซึ่งในขั้นนี้จะต้องมีการเผาไหม้ที่จะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ อันประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ รวมถึงสารเคมีต่างๆ" ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กล่าว
ขอขอบคุณข่าวจาก คมชัดลึก ต้นฉบับคลิก





ที่สำคัญ ชาวบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ อยากให้โรงงานเหมืองแร่หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนแทน เช่น ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าพลังลม...




วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศสปชต.บ้านชวน หน้าที่พลเมือง คือ

ศส.ปชต. มีบทบาทหน้าที่ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปยังประชาชนในพื้นที่โดยมีศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการ และเพื่อสร้างเครือข่ายในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตย ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงผลเสียหายจากการซื้อสิทธิขายเสียและการทุจริตคอร์รัปชั่น

สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่ยึดหลักความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม ทั้งนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในสังคมประชาธิปไตยหรือพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจึงควรมีการปฏิบัติตนที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สาระการเรียนรู้
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทย
1.1 หน้าที่ของพลเมืองดี 
1.2 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี 
2. สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ
2.1 หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทย
หน้าที่ของพลเมืองดี
ความหมายของพลเมืองดี
พลเมือง หมายถึง พละกำลังของประเทศ ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศนั่นเอง ต่างจากชาวต่างด้าวเข้าเมือง ชาวต่างประเทศนี้เข้ามาอยู่ชั่วคราว
พลเมืองมีความหมายต่างจากบุคคล ซึ่งหมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
เมื่อกล่าวถึงพลเมืองของประเทศใด ย่อมหมายถึงบุคคลทั้งหลายที่มีสัญชาติของประเทศนั้น ๆ ตามกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น เมื่อกล่าวถึงพลเมืองของประเทศไทยย่อมหมายถึงคนทั้งหลายที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายไทย
พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมือง และมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง
หน้าที่ของพลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของศาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ 
เนื้อหา เพิ่มเติม คลิก

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทำไมต้อง EIA

            โครงการหมืองแร่โพแทชและเกลือหิน ของบริษัทเหมือแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) ได้รับใบประทานบัตรจากรัฐบาลเรียบร้อยแล้วในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 และตอนนี้กำลังจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (ค.1)ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ซึ่งเป็นการนำเอาถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 55 เมกกะวัตต์ ทำให้ชาวบ้านหลายพันคนตกใจ เพราะไม่เข้าใจเรื่องพลังความร้อนร่วมว่าหมายถึงอะไร และทำไมต้องมารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ...
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ ทำนาย ประเมินขนาดและความสำคัญของกฎหมาย นโยบาย โครงการ และกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ที่อาจมีต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และคุณภาพชีวิต รวมทั้งการเสนอแนะมาตรการลด ป้องกัน และติดตามตรวจสอบผลกระทบ ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถสื่อสารเป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจน(Munn, 1979; Canter, 1996)
Petts (1999) กล่าวว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ ในการตอบสนองแนวคิดที่ให้ความสำคัญแก่ธรรมชาติ ซึ่งเริ่มมีการแข่งขันกันทางความคิดกับแนวคิดที่ให้ความสำคัญแก่เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการที่ชาญฉลาดในการสร้างความเติมโตทางเศรษฐกิจและการเอาชนะปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน
 สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (2554) ให้ความหมาย EIA ว่า เป็นการศึกษาคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในทางบวกและทางลบ จากการพัฒนาโครงการหรือกิจการที่สำคัญ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข จากการพัฒนาโครงการ และใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการหรือกิจการ ผลการศึกษาจัดทำเป็นเอกสารเรียกว่า รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1) เพื่อจำแนก ทำนาย และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครง การ โดยเปรียบเทียบกับสภาวะที่ไม่มีโครงการ และเพื่อเตรียมการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นวางแผนโครงการ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและดำเนินโครงการ และเพื่อสนับสนุนหลักการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
2) เพื่อให้มีการนำปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมมาช่วยในการวางแผนโครงการและตัดสินใจดำเนินโครงการ
รูปแบบและวิธีการ
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่นิยมและยอมรับที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คือ ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 4 หมวด หรือที่เรียกว่า “Four-tier System” ซึ่งเป็นการจัดแยกทรัพยากรสิ่งแวดล้อมออกจากคุณค่าหรือคุณภาพในแง่ต่างๆ ของมนุษย์ ดังต่อไปนี้
1.ทรัพยากรด้านกายภาพ (Physical Resources)
2.ทรัพยากรด้านนิเวศวิทยา (Ecological Resources)
3.คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (Human Use Values)
4.คุณภาพชีวิต (Quality of Life)

 ขั้นตอนการทำ EIA



ที่มา; ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, 2555
     
         หลังจากที่การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ผ่านแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 ต่อไป แล้วนำมาปรับแก้ไขตามที่ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หลังจากนั้นก็จะได้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง มาใช้ในเหมืองแร่ต่อไป...
ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นถ้าหาก อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้แก่อะไรบ้าง...