โครงการหมืองแร่โพแทชและเกลือหิน
ของบริษัทเหมือแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) ได้รับใบประทานบัตรจากรัฐบาลเรียบร้อยแล้วในเดือน
กุมภาพันธ์ 2558 และตอนนี้กำลังจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 1 (ค.1)ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
ซึ่งเป็นการนำเอาถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 55 เมกกะวัตต์ ทำให้ชาวบ้านหลายพันคนตกใจ เพราะไม่เข้าใจเรื่องพลังความร้อนร่วมว่าหมายถึงอะไร
และทำไมต้องมารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ...
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(Environmental Impact Assessment: EIA) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ ทำนาย
ประเมินขนาดและความสำคัญของกฎหมาย นโยบาย โครงการ และกิจกรรมอื่นๆ
ของมนุษย์ที่อาจมีต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และคุณภาพชีวิต
รวมทั้งการเสนอแนะมาตรการลด ป้องกัน และติดตามตรวจสอบผลกระทบ
ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถสื่อสารเป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจน(Munn,
1979; Canter, 1996)
Petts (1999) กล่าวว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ ในการตอบสนองแนวคิดที่ให้ความสำคัญแก่ธรรมชาติ
ซึ่งเริ่มมีการแข่งขันกันทางความคิดกับแนวคิดที่ให้ความสำคัญแก่เทคโนโลยี
ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมาย
ซึ่งการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการที่ชาญฉลาดในการสร้างความเติมโตทางเศรษฐกิจและการเอาชนะปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน
สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (2554) ให้ความหมาย EIA ว่า
เป็นการศึกษาคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในทางบวกและทางลบ
จากการพัฒนาโครงการหรือกิจการที่สำคัญ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข
จากการพัฒนาโครงการ และใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการหรือกิจการ
ผลการศึกษาจัดทำเป็นเอกสารเรียกว่า รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1) เพื่อจำแนก
ทำนาย และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครง การ โดยเปรียบเทียบกับสภาวะที่ไม่มีโครงการ และเพื่อเตรียมการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นวางแผนโครงการ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและดำเนินโครงการ และเพื่อสนับสนุนหลักการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
2) เพื่อให้มีการนำปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมมาช่วยในการวางแผนโครงการและตัดสินใจดำเนินโครงการ
รูปแบบและวิธีการ
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่นิยมและยอมรับที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คือ
ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 4 หมวด หรือที่เรียกว่า “Four-tier System” ซึ่งเป็นการจัดแยกทรัพยากรสิ่งแวดล้อมออกจากคุณค่าหรือคุณภาพในแง่ต่างๆ
ของมนุษย์ ดังต่อไปนี้
1.ทรัพยากรด้านกายภาพ
(Physical Resources)
2.ทรัพยากรด้านนิเวศวิทยา
(Ecological Resources)
3.คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
(Human Use Values)
4.คุณภาพชีวิต
(Quality of Life)
ขั้นตอนการทำ
EIA
ที่มา; ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, 2555
หลังจากที่การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ผ่านแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 ต่อไป แล้วนำมาปรับแก้ไขตามที่ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หลังจากนั้นก็จะได้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง มาใช้ในเหมืองแร่ต่อไป...
ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นถ้าหาก อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้แก่อะไรบ้าง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น