วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิวาทะโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่จากพรรณทิพา จิตราวุฒิพรคมชัดลึก

กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่ ไม่ต่างจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เพราะที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ ชาวบ้านทราบว่ามีไฟฟ้าจำนวนมาก และมีมากพอในการทำเหมืองแร่ แต่ก็มีชาวบ้านหลายๆหมู่บ้านไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใกล้บ้านเรือนของพวกเขา..
 ชาวบ้านตำบลหัวทะเล กังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นระบบการส่งส่งถ่านหิน การใช้น้ำจำนวนมากในการล้างถ่านหิน การหล่อเย็น และรวมถึงการมีน้ำจากโรงไฟฟ้าหลุดออกมาปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่มัน ไร่พริก ไร่อ้อย ปลูกข้าว และพืชส่วนต่างๆ ถ้าโรงงานเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าถ่านหินมีการนำน้ำจากแหล่งธรรมชาติไปใช้จำนวนมากจะเกิดอะไรขึ้น ชาวบ้านแห้งแล้ง พืชสวนไร่นาเสียหายใช่หรือไม่...สอดคล้องกับรายงานข่าวของ พรรณทิพา จิตราวุฒิพร นักข่าวคมชัดลึก ว่าชาวกระบี่มีความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ และสอดคล้องกับความเห็นจาก นพ.ปรีชา เปรมปรี ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่กล่าวว่า ระหว่างการขนถ่ายถ่านหินจะเกิดฝุ่นละออง รวมถึงกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินก็จะทำให้เกิดน้ำหรือไอน้ำซึ่งมีสารพิษตกค้าง หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี อาจหลุดลอดลงสู่แหล่งน้ำซึ่งจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงอาจป่วยด้วยโรคปอดอักเสบจากฝุ่นถ่านหิน โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ ระบบหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เพราะถ่านหินมีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายเมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์คือ คาร์บอน กำมะถัน โลหะหนักบางชนิด

                "หากสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นจริง จะเกิดผลกระทบตามมาแน่นอนจากสาเหตุหลัก 3 กระบวนการ คือ กระบวนการขนส่ง กระบวนการแปรสภาพ และกระบวนการแปรสภาพเป็นความร้อน ซึ่งในขั้นตอนการขนส่งกับการแปรสภาพนั้นจะทำให้ถ่านหินฟุ้งกระจายไปตามอากาศ เกิดเป็นฝุ่นละอองเล็กๆ ปลิวไปตกตามบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดเป็นคราบถ่านหิน นอกจากนี้ยังมีกระบวนการแปรสภาพเป็นความร้อนซึ่งในขั้นนี้จะต้องมีการเผาไหม้ที่จะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ อันประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ รวมถึงสารเคมีต่างๆ" ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กล่าว
ขอขอบคุณข่าวจาก คมชัดลึก ต้นฉบับคลิก





ที่สำคัญ ชาวบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ อยากให้โรงงานเหมืองแร่หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนแทน เช่น ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าพลังลม...




วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศสปชต.บ้านชวน หน้าที่พลเมือง คือ

ศส.ปชต. มีบทบาทหน้าที่ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปยังประชาชนในพื้นที่โดยมีศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการ และเพื่อสร้างเครือข่ายในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตย ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงผลเสียหายจากการซื้อสิทธิขายเสียและการทุจริตคอร์รัปชั่น

สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่ยึดหลักความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม ทั้งนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในสังคมประชาธิปไตยหรือพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจึงควรมีการปฏิบัติตนที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สาระการเรียนรู้
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทย
1.1 หน้าที่ของพลเมืองดี 
1.2 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี 
2. สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ
2.1 หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทย
หน้าที่ของพลเมืองดี
ความหมายของพลเมืองดี
พลเมือง หมายถึง พละกำลังของประเทศ ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศนั่นเอง ต่างจากชาวต่างด้าวเข้าเมือง ชาวต่างประเทศนี้เข้ามาอยู่ชั่วคราว
พลเมืองมีความหมายต่างจากบุคคล ซึ่งหมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
เมื่อกล่าวถึงพลเมืองของประเทศใด ย่อมหมายถึงบุคคลทั้งหลายที่มีสัญชาติของประเทศนั้น ๆ ตามกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น เมื่อกล่าวถึงพลเมืองของประเทศไทยย่อมหมายถึงคนทั้งหลายที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายไทย
พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมือง และมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง
หน้าที่ของพลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของศาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ 
เนื้อหา เพิ่มเติม คลิก

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทำไมต้อง EIA

            โครงการหมืองแร่โพแทชและเกลือหิน ของบริษัทเหมือแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) ได้รับใบประทานบัตรจากรัฐบาลเรียบร้อยแล้วในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 และตอนนี้กำลังจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (ค.1)ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ซึ่งเป็นการนำเอาถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 55 เมกกะวัตต์ ทำให้ชาวบ้านหลายพันคนตกใจ เพราะไม่เข้าใจเรื่องพลังความร้อนร่วมว่าหมายถึงอะไร และทำไมต้องมารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ...
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ ทำนาย ประเมินขนาดและความสำคัญของกฎหมาย นโยบาย โครงการ และกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ที่อาจมีต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และคุณภาพชีวิต รวมทั้งการเสนอแนะมาตรการลด ป้องกัน และติดตามตรวจสอบผลกระทบ ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถสื่อสารเป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจน(Munn, 1979; Canter, 1996)
Petts (1999) กล่าวว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ ในการตอบสนองแนวคิดที่ให้ความสำคัญแก่ธรรมชาติ ซึ่งเริ่มมีการแข่งขันกันทางความคิดกับแนวคิดที่ให้ความสำคัญแก่เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการที่ชาญฉลาดในการสร้างความเติมโตทางเศรษฐกิจและการเอาชนะปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน
 สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (2554) ให้ความหมาย EIA ว่า เป็นการศึกษาคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในทางบวกและทางลบ จากการพัฒนาโครงการหรือกิจการที่สำคัญ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข จากการพัฒนาโครงการ และใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการหรือกิจการ ผลการศึกษาจัดทำเป็นเอกสารเรียกว่า รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1) เพื่อจำแนก ทำนาย และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครง การ โดยเปรียบเทียบกับสภาวะที่ไม่มีโครงการ และเพื่อเตรียมการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นวางแผนโครงการ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและดำเนินโครงการ และเพื่อสนับสนุนหลักการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
2) เพื่อให้มีการนำปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมมาช่วยในการวางแผนโครงการและตัดสินใจดำเนินโครงการ
รูปแบบและวิธีการ
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่นิยมและยอมรับที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คือ ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 4 หมวด หรือที่เรียกว่า “Four-tier System” ซึ่งเป็นการจัดแยกทรัพยากรสิ่งแวดล้อมออกจากคุณค่าหรือคุณภาพในแง่ต่างๆ ของมนุษย์ ดังต่อไปนี้
1.ทรัพยากรด้านกายภาพ (Physical Resources)
2.ทรัพยากรด้านนิเวศวิทยา (Ecological Resources)
3.คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (Human Use Values)
4.คุณภาพชีวิต (Quality of Life)

 ขั้นตอนการทำ EIA



ที่มา; ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, 2555
     
         หลังจากที่การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ผ่านแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 ต่อไป แล้วนำมาปรับแก้ไขตามที่ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หลังจากนั้นก็จะได้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง มาใช้ในเหมืองแร่ต่อไป...
ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นถ้าหาก อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้แก่อะไรบ้าง...

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประทานบัตรเหมืองแร่โปรแตซ

วันนี้ขอค้นข่าวที่น่านสนใจมาเก็ไว้อ่านเอง ครับ
ข่าวที่น่าสนในวันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เรื่องเกี่ยวกับเหมืองแร่โปรแตซ ที่ได้รับประทานบัตร ระยะเวลา 25 ปี
เป็นข่าวจาก http://www.citizenthaipbs.net/node/4718 ครับ
วันนี้ (16 ก.พ. 2558) นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบประทานบัตรเหมืองแร่โปแตช ให้แก่ บริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) และจัดแถลงข่าวเรื่อง “ประทานบัตรเหมืองแร่โปแตชใบแรกของไทย 30 ปีที่รอคอย โดยจากใบเชิญร่วมทำข่าว ในการประชุมมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ และนายจักกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ ในฐานประธานคณะกรรมการบริษัทเหมืองแร่โปรแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมด้วย
ประทานบัตรเหมืองแร่โปแตชดังกล่าว มีพื้นที่ 9,000 ไร่ อยู่ใน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ อายุประทานบัตรในการอนุญาตทำเหมืองนาน 25 ปี โดยเหมืองแห่งนี้เป็นเหมืองใต้ดิน มีลักษณะเป็นเหมืองปิด ใช้เงินลงทุน 40,000 ล้านบาท เนื้อหาเพิ่มเติม คลิก