วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ความรู้เรื่องถ่านหิน : วิชาเคมี

ความรู้เรื่องถ่านหิน จาก youtube.com

**




ถ่านหิน สะอาดได้อย่างไร

**

เรื่องของถ่านหิน ข่าวจาก ASTV

29 พฤษภาคม 2558 13:13 น. (แก้ไขล่าสุด 29 พฤษภาคม 2558 14:16 น.)

พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้

พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
        ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน เผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยต่างประเทศที่ “กรีนพีซ” แปลเป็นภาษาไทยแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านได้รับรู้ถึงมหันตภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งเป็นข้อมูลที่รัฐบาลไม่เคยนำมาเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้
       
       เป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนโดยระบุว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเนื่องจากเป็นพลังงานที่ถูกที่สุดและยืนยันว่า เป็นการทำเพื่ออนาคตของของลูกหลาน ทั้งยังขู่ผู้คัดค้านโครงการว่า หากไม่มีไฟฟ้าใช้ก็อย่ามาบ่นแล้วกัน ซึ่งข้อมูลในลักษณะนี้ถูกประชาสัมพันธ์ผ่านผู้นำของรัฐบาล และหน่วยงานต่างๆ มาโดยตลอด ขณะที่ข้อมูลอีกด้านซึ่งเป็นเรื่องผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ผ่านการศึกษาวิจัยมาอย่างรอบด้าน รัฐบาลกลับไม่เคยเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ
       
       “ASTVผู้จัดการภาคใต้” รวบรวมความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งเป็นข้อมูลจากงานศึกษาวิจัยที่เชื่อถือได้ โดยกรีนพีซ ได้แปล และสรุปเนื้อหาเป็นภาษาไทยนำมาเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของกรีนพีซด้วย อ่านข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้คนที่ไม่รู้จักถ่านหินเข้าใจ และมองเห็นถึงพิษภัยได้ชัดเจนขึ้น
        
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
       
พิษภัยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความจริงอีกด้านที่ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ได้บอกให้ชาวบ้านรู้
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก ASTV เนื้อหาเพิ่มเติม คลิก

กฟผ:ถ่านหินทางเลือกที่ดีที่สุด


คำกล่าวที่ว่า “ถ่านหิน ทางเลือกที่ดีที่สุด” ตามปกติไม่น่าออกจากปากนักสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับ Armond Cohen ผู้มีอาชีพเป็นนักกฎหมายสิ่งแวดล้อมมาตลอดช่วงอายุการทำงาน ได้กล่าวในบทความ “Mission Possible : An Environmentalist Looks at Coal and Climate” ว่า ผู้ที่ต่อต้านถ่านหินควรเลิกหวังว่าจะไม่มีการใช้ถ่านหิน เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ทั่วโลกจะต้องพึ่งเชื้อเพลิงถ่านหินในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น
“ถ่านหินจะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา ถ่านหินจะยังเป็นพลังงานหลัก โลกต้องการแหล่งพลังงานที่มั่นคงเชื่อถือได้ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตและประชากรพัฒนา”
Cohen กล่าวว่า ความต้องการพลังงานในประเทศกำลังพัฒนาจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น ๓ เท่า ในช่วง ๒๐ ปีข้างหน้า และถ่านหินจะเป็นพลังงานเดียวที่จะสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ได้ แม้ว่าพลังงานทางเลือกอย่างก๊าซธรรมชาติ ลม แสงอาทิตย์ นิวเคลียร์ และประสิทธิภาพพลังงานจะมีความสำคัญ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเทียบเท่าสัดส่วนจากพลังงานถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าของโลกได้
แม้ว่าปัจจุบัน ในประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปอเมริกาเหนือจะมีแหล่งพลังงานอย่าง shale gas (ก๊าซธรรมชาติจากถ่านหินดินดาน) และมีการสำรวจอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นผลดีต่ออเมริกา เพราะยังไม่มีการสำรวจและนำ shale gas มาใช้ในเอเชียและยุโรป อย่างไรก็ตาม การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ในอเมริกาจะยังคงมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซในจีน
ขณะที่พลังงานหมุนเวียน ที่มีสัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าของโลกทั้งหมดร้อยละ ๓ นั้น องค์กรพลังงานระดับโลกยังคงคาดการณ์ว่า ๒ ใน ๓ ของไฟฟ้าที่จะผลิตได้จนถึงปี ๒๕๗๘ จะยังคงใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายๆ แห่งเริ่มเก่าและจะปิดลงในไม่ช้า ประกอบกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์ใหม่ๆ ที่ทันสมัยกว่า ปลอดภัยกว่า และถูกกว่า ยังคงพัฒนาไม่เสร็จสิ้น และยังต้องใช้ระยะเวลากว่าจะนำมาใช้กับโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้จริง
“ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้โลกเหลือถ่านหินเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อผลิตไฟฟ้า” Cohen กล่าว
ปัจจุบันปัญหาต่างๆจากถ่านหินได้รับการแก้ไข และมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับการปล่อยก๊าซออกสู่บรรยากาศ อย่างเช่นในอเมริกา มีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อจัดการกับก๊าซนี้ เช่น โครงการ Kemper ที่รัฐ Mississippi โรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังผลิต ๕๘๒ Glossary Link เมกะวัตต์ ที่มีเทคโนโลยีสามารถดักจับการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ทั้งหมดร้อยละ ๖๕ หรือจะเป็นโครงการที่รัฐ Texas กำลังผลิต ๒๔๕ Glossary Linkเมกะวัตต์ ที่จะสามารถดักจับคาร์บอนได้ถึงร้อยละ ๙๐ ไม่ให้ออกสู่บรรยากาศ
“ดังนั้น สำหรับนักลงทุน ที่อยู่ในบริบทของการคาดการณ์ว่าความต้องการไฟฟ้ายังคงเพิ่มสูง และมีเทคโนโลยีถ่านหินที่มีประสิทธิภาพ ถ่านหินคือทางเลือกที่ดีที่สุด” นาย Cohen กล่าวทิ้งท้าย
น.ส. สุภร เหลืองกำจร วก.๔ กสท-ค. อสอ. : เรียบเรียง
ที่มา : http://www.forbes.com 
date: January 9, 2014
ข้อมูล ขอบคุณข้อมูลจาก กฟผ  เนื้อหาต้นฉบับ คลิก

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประชาสัมพันธ์ :พลเมืองคุณภาพ ศสปชต.บ้านชวน

ศสปชต.บ้านชวน มีบทบาทหน้าที่สำคัญ คือการเผยแพร่ความรู้เรื่อง พลเมืองคุณภาพ และการเลือกตั้ง ด้านการออกรณรงค์ความรู้เรื่อง พลเมืองคุณภาพ ดำเนินการเชิงรุกแบบบูรณาการ กับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ มีการค้นแหล่งชุมชนที่เราสามารถเข้าไปแจกแผ่นพับ นำเสนอข้อมูล พลเมืองคุณภาพ ...
    วันที่ 28 พฤษภาคม 2558 วันนี้ที่ว่าการ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ มีกิจกรรมบริจาคโลหิต โดยสำนักงานเหล่ากาชาด จังหวัดชัยภูมิ เราเลยมีโอกาสแจม พูดคุยเนื้อหาที่สำคัญกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรฯและผู้มาบริจาคโลหิต ประมาณ 150 คน ทุกคนตั้งใจฟังและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม...และมีคำถามตามมาว่า แล้วจะมีเลือกตั้งช่วงไหนครับ......


ขอขอบคุณทีมงาน ศสปชต.บ้านชวน ครับ...เราทำเพราะเรารู้ดีว่า ...พลเมืองคุณภาพ..มีคุณค่าเสมอสำหรับบ้านเมืองของเรา...
แล้วพบกันใหม่ครับ ว่าเราจะไปขยายเครือข่ายที่ไหนต่อไป..แบบบูรณาการ..


รพ.สต.ดีเด่นระดับประเทศ2556 รพ.สต.มะค่า เมืองนครราชสีมา



โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดีเด่นระดับประเทศ 2556 รพ.สต.มะค่า อ.เมือง จ.นครราชสีมา

วีดีทัศน์ประกวด รพ.สต.ดีเด่น ระดับ ประเทศ ปี ๒๕๕๗ - รพ.สต.บางแก้ว อ บาง...





โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดีเด่นระดับ ประเทศ ปี ๒๕๕๗ - รพ.สต.บางแก้ว  อ บางพลี จ.สมุทรปราการ

 สุดยอดครับ

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การตรวจสอบคุณภาพอากาศ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีนาคม 2558

การตรวจสอบคุณภาพอากาศ เป็นเรื่องสำคัญในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ทำการสรุปผลการตรวจคุณภาพอากาศ เดือนมีนาคม 2558 ตามตาราง ครับ
 คุณภาพอากาศแม่เมาะเดือนมีนาคม 2558 พบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กยังเกินค่ามาตรฐาน 23 วัน
         รายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน 11 สถานี ซึ่งมีการตรวจวัดฝุ่นละอองรวม(TSP), ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซต์(NO2) โดยมีสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน(PM10) จำนวน 4 สถานี และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) ที่สถานีหลักบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ทั้งนี้การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองรวม(TSP) ในคาบ 24 ชั่วโมง, ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10) ในคาบ 24 ชั่วโมง,  ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในคาบ 24 ชั่วโมง, ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในคาบ 1 ชั่วโมง,  ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในคาบ 24 ชั่วโมง และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ในคาบ 1 ชั่วโมง ตามเกณฑ์มาตรฐานประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2544), ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2547), ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2552) และฉบับที่ 36 (พ.ศ.2553) ผลการตรวจวัดพบว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10) ในคาบ 24 ชั่วโมง วัดค่าสูงสุดได้ที่ 235 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ตรวจพบที่สถานีหลัก มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน 17 วัน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2547) ที่กำหนดให้มีค่าไม่เกิน 120 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
       นอกจากนั้นแล้ว กฟผ.ได้ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ความเข้มข้นเฉลี่ยในคาบเวลา 24 ชั่วโมง ตรวจวัดที่สถานีหลัก พบว่ามีค่าสูงสุดที่ 191 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ในขณะที่ค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 (พ.ศ.2553) กำหนดให้มีค่าไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. โดยพบว่าในเดือนมีนาคมนี้ มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน 23 วัน ทั้งนี้นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมได้จำแนกขนาดของฝุ่นละอองไว้ 3 กลุ่มหลักได้แก่ 1.กลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน เช่น เศษฝุ่นจากการก่อสร้างหรือการระเบิดหิน ละอองเกสรดอกไม้ เถ้าลอย 2.สำหรับกลุ่มฝุ่นละอองที่อยู่ในช่วง 2.5 – 10 ไมครอน จัดอยู่ในกลุ่มฝุ่นหยาบ (Coarse Particle) และ 3.กลุ่มที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือกลุ่มฝุ่นละเอียด (Fine Particle) ปัญหาอยู่ที่กลุ่มของฝุ่นที่เกิดจากไฟป่ามีสัดส่วนของกลุ่มฝุ่นละเอียดที่ค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือ ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วเหล่านี้สามารถเข้าสู่ปอดของเราได้อย่างง่ายดาย
         สำหรับดัชนีคุณภาพอากาศพื้นที่ปฏิบัติงาน, พื้นที่ชุมชน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี-มีผลกระทบต่อสุขภาพ พบมีฝุ่นขนาดเล็กเกินมาตรฐาน คนที่เป็น  โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจควรงดออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง ส่วนพื้นที่บ้านพักผู้ปฏิบัติงาน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ)

ลำดับ
ค่าที่ตรวจวัด
ค่ามาตรฐาน
(ไมโครกรัม/ ลบ.ม.)
ค่าที่วัดได้สูงสุด (ไมโครกรัม/ ลบ.ม.)
1
ฝุ่นละอองรวม (TSP) ในคาบ 24 ชั่วโมง
330
268
2
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10) ในคาบ 24 ชั่วโมง
120
235
3
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในคาบ 1 ชั่วโมง
780
136
4
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในคาบ 24 ชั่วโมง
300
13
5
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ในคาบ 1 ชั่วโมง
320
213




แหล่งข่าว : แผนกประชาสัมพันธ์
ขอขอบคุณข้อมูลจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ข้อมูลเพิ่มเติม click โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ผู้จัดการออนไลน์:ทำไมต้องคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 กระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในหลายจังหวัดของภาคใต้ เช่น นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง เป็นต้น โดยให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว จนถึงชูคำขวัญที่เป็นเท็จว่า “ถ่านหินสะอาด” ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่เน้นความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลทุกด้านและให้ประชาชนมีส่วนร่วม
     
        เหตุการณ์ไฟฟ้าดับพร้อมกันใน 14 จังหวัดภาคใต้นาน 6 ชั่วโมงเมื่อเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในขณะที่ยังมีความสับสนอยู่ว่าไฟฟ้าดับเพราะอะไร แต่รัฐมนตรีพลังงานได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เพราะโรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอ จำเป็นต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน” นักวิชาการภาคประชาชนได้ตั้งข้อสังเกตว่า “มันดับเพื่อสร้างสถานการณ์หรือเปล่า”
     
        ปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการยืนยันว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงในเรื่องไฟฟ้าดับ แต่เมื่อไม่นานมานี้ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (16 มิถุนายน 56) ได้นำเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในภาคใต้ไปใช้ประโยชน์ว่า ในการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี 2013 ที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นได้มีการอ้างถึงเหตุการณ์ไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ ดังนั้นจึงต้องมีการเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินจากแผนเดิม (ที่เพิ่งปรับปรุงล่าสุดในปี 2555) จากจำนวน 4,400 เมกะวัตต์เป็น 10,000 เมกะวัตต์
     
        ล่าสุด กฟผ.ได้นำกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนักปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราชพร้อมด้วยสื่อมวลชนไปดูโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศเกาหลีใต้ ในขณะที่มีการคัดค้านของประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องตลอดมา
     
        อนึ่ง ปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้ได้ติดตั้งกังหันลมจำนวน 483 เมกะวัตต์ โดยรัฐบาลมีเป้าว่าจะเป็นประเทศ 1 ใน 5 ของโลกในด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ดีที่สุดภายในปี 2558 และมีแผนจะติดแผงโซลาร์ซลล์ให้ได้ 1 ล้านหลังคาบ้านในปี 2573 (ข้อมูลจาก Global Energy Network Institute) แต่น่าเสียดายที่ กฟผ.ซึ่งใช้เงินของประชาชน แต่ไม่ได้นำผู้นำท้องถิ่นไปดูสิ่งที่ดีๆ ที่เป็นทางออกของชาวโลกด้วย หรือว่าในสมองของพวกเขามีแต่ถ่านหิน
     
        การกระทำในระดับปฏิบัติการในพื้นที่ของกฟผ. และการจัดทำแผนพีดีพีของกระทรวงพลังงานดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ชอบมาพากล ไม่ใช่วิธีการของอารยะชน ซึ่งในวัฒนธรรมของคนปักษ์ใต้ถือว่า คบไม่ได้ เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจมาก จนถึงกับกล่าวว่า “สูอย่ามาทำเหลียม” 
     
        บทความนี้จะขอนำเสนอความคิดเห็นต่อเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตของชุมชนคนปักษ์ใต้ที่จะได้รับผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อม การทำมาหากินและสุขภาพ ซึ่งบางองค์กร (Clean Air Task Force) ถึงกับสรุปสั้นๆ ถึงผลกระทบของถ่านหินว่า “เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ” แต่เอกสารทางการแพทย์อีกหลายองค์กรระบุว่าผลกระทบต่อคนเกิดขึ้นตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดาเลยทีเดียว เอกสารนี้จะค่อยๆ กล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมดังที่กล่าวมาแล้วเป็นประเด็น รวม 4 ประเด็นดังนี้
     
        1. ทำไมโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงได้รับการคัดค้านจากประชาชนทั่วโลก
     
        โรงไฟฟ้าถ่านหินได้ถูกจัดให้เป็นโรงไฟฟ้าที่สกปรกที่สุดของโลก เพราะในกระบวนการผลิตจะต้องใช้ถ่านหินที่มีโลหะหนักที่เป็นพิษอย่างรุนแรงต่อคนและสิ่งแวดล้อมปนอยู่ เมื่อเผาถ่านหินจะเกิดเขม่าควันฟุ้งกระจาย เมื่อหายใจเข้าไปจะไปทำลายปอด โดยเฉพาะฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ใน 100 ของเส้นผมคนยิ่งอันตราย เมื่อฝนตกหมอกควันดังกล่าวก็จะตกลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ ทำลายพืช สัตว์น้ำ สุขภาพคน สัตว์เลี้ยง สารปรอทจากปลาจะเข้าสู่คน นอกจากนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินจะต้องใช้น้ำจืดและน้ำหล่อเย็นจำนวนมาก

       ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งพึ่งพาโรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 45% และใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินมากเป็นอันดับสองของโลก (รองจากจีน) ก็ได้ลดการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าลงมาตามลำดับ ล่าสุดประกาศจะปลด ระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินเก่าถึง 150 โรงในอีก 7 ปีข้างหน้า โดยจะหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการใช้ประหยัดพลังงานแทนพลังงานถ่านหินที่ลดลง
     
        ไม่เพียงแต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่เห็นพิษภัยของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกก็เห็นและคัดค้าน เช่น อินโดนีเซีย พม่า เป็นต้น
     
        ที่น่าทึ่งมาก เมื่อต้นปี 2555 รัฐบาลประเทศสหภาพพม่าที่เพิ่งเปลี่ยนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้ประกาศยกเลิกโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 พันเมกะวัตต์ที่ทวาย โดยให้เหตุผลว่า “รัฐบาลรับฟังจากสื่อและหลังจากที่ได้ศึกษาผลกระทบแล้ว ก็เห็นว่าไม่สมควรที่จะมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน รัฐบาลจึงตัดสินใจยกเลิก” (ที่มา Karen News, มกราคม 2012) คนไทยฟังแล้วรู้สึกอิจฉา!
     
        2. โรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอจริงหรือ
     
        ถ้าคิดเฉพาะ “โรง” ไฟฟ้าแล้ว ในปี 2554ภาคใต้มีโรงไฟฟ้ารวมกันจำนวน 2,429 เมกะวัตต์ แต่ยังมีอีก 2 ระบบเข้ามาเสริม คือ (1) ระบบสายส่งจากภาคกลาง 500 เมกะวัตต์ และ (2) ระบบแลกไฟฟ้ากับประเทศมาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ซึ่งทั้งสองระบบนี้ได้ลงทุนไว้แล้วหลายหมื่นล้านบาท เมื่อไฟฟ้าของฝ่ายใดมีปัญหา อีกฝ่ายหนึ่งก็ส่งมาเสริม
     
        ในปี 2554 ภาคใต้ใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 1,848 เมกะวัตต์เท่านั้น สำรองจึงสูงถึง 75% มันสูงกว่ามาตรฐานที่ 15% ถึงหลายเท่าตัว (สำรองมาก ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น)
     
        กฟผ.ให้ข้อมูลว่า เกิดอุบัติเหตุเนื่องจากฟ้าผ่าระบบสายส่งในขณะที่กำลังซ่อมสายส่งอีกสายหนึ่ง ในเวลาเกิดเหตุ ภาคใต้ใช้ไฟฟ้าสูงสุด 2,242.2 เมกะวัตต์ แต่มีโรงไฟฟ้าที่ทำงานอยู่เพียง 1,692.2 เมกะวัตต์ (แสดงว่ามีโรงไฟฟ้าไม่ทำงาน 736.8 เมกะวัตต์)
     
        ข้อมูลที่ปรากฏในเวลาต่อมาว่า ไฟฟ้าดับหลังจากเกิดฟ้าผ่าแล้ว 1 ชั่วโมง กับ 26 นาที (ฟ้าผ่าเวลา 17.26 น. ไฟฟ้าดับ 18.52 น.) ช่วงเวลาดังกล่าวนานพอที่จะตัดสินใจและบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเพิ่มการผลิตจากเขื่อน ใช้ไฟฟ้าจากมาเลเซีย 300 เมกะวัตต์ แต่ใช้ได้จริงแค่ 30 เมกะวัตต์ (ขณะนี้ยังไม่มีคำอธิบาย) การประกาศผ่านสื่อโทรทัศน์ให้สังคมช่วยกันปิดไฟที่ไม่จำเป็น เป็นต้น
     
        ดังนั้น ปัญหาไฟฟ้าของภาคใต้จึงเป็นปัญหาของการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ รวมศูนย์การตัดสินใจเพราะต้องรอคำสั่งจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานซึ่งไม่ใช่ฝ่ายปฏิบัติการมากเกินไป ไม่ใช่เป็นเพราะกำลังการผลิตไม่เพียงพอ
     
        และที่ตลก(เศร้า)มากก็คือ จะขอสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม แต่กลับขอที่ต้องใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่มีทางเลือกอื่นๆ อีกเยอะแยะ ที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่าพ่อค้าพลังงานได้ลงทุนทำเหมืองถ่านหินต่างประเทศไว้แล้ว
     
        อนึ่ง ในปี 2557 โรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลาโรงที่สองขนาด 800 เมกะวัตต์ก็จะสร้างแล้วเสร็จ และในปี 2559 โรงไฟฟ้าใหม่ที่อำเภอขนอมขนาด 900 เมกะวัตต์จะเข้ามาแทนที่โรงไฟฟ้าเก่า 700 เมกะวัตต์ ดังนั้น เฉพาะสองโรงนี้ก็มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นแล้วถึงหนึ่งพันเมกะวัตต์
     
        ประชาชนในภาคใต้ที่ได้ติดตามแผนพัฒนาภาคใต้อย่างใกล้ชิดเชื่อว่า การสร้างโรงไฟฟ้าไว้จำนวนมากมายขนาดนี้ก็เพื่อตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงถลุงเหล็กต้นน้ำ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
     
        คนภาคใต้ไม่ได้คัดค้าน “การพัฒนา” ไม่ได้ขัดขวางความเจริญ ปัญหามีอยู่ว่า “การพัฒนา” คืออะไรกันแน่
     
        ท่านพุทธทาสภิกขุปราชญ์ชาวใต้ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ได้เขียนไว้ในสมุดบันทึกของท่านอย่างสั้นๆ ว่า “คำว่า พัฒนา ตามตัวหนังสือนั้นแปลว่าโตขึ้นเท่านั้น ดีก็ได้ บ้าก็ได้” 
     
        คนภาคใต้ต้องการสิ่งที่ดีให้มีเพิ่มขึ้นในพื้นที่ จึงได้เสนอต่อรัฐบาลทุกชุดเสมอมาว่า ต้องการการพัฒนาที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยเน้นการพัฒนาที่ต่อยอดจากการเกษตร การท่องเที่ยว การประมง และการศึกษาซึ่งวันนี้จากการสำรวจขององค์กรระดับโลกพบว่า คุณภาพการศึกษาของประเทศไทยเราได้ตกต่ำมาอยู่อันดับที่ 8 จาก 10 ประเทศของกลุ่มอาเซียนแล้ว ขณะเดียวกัน คนภาคใต้ได้ก็ร้องขอและยืนหยัดคัดค้านไม่ให้รัฐบาลพรรคใดก็ตาม จงอย่าได้ชักนำสิ่งที่บ้าเข้ามาเพิ่มเติมในพื้นที่อีกเลย
     
        3. ถ่านหินสะอาดมีที่ไหนในโลก? 
     
        องค์กรที่ชื่อว่า “แพทย์เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม” (Physicians for Social Responsibilty) ซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมรับรางวัลโนเบลเมื่อปี 2528 ได้ออกรายงาน (พฤศจิกายน 2552, รูปหน้าแรกมาจากรายงานฉบับนี้) ได้สรุปว่า “มลพิษจากถ่านหินมีผลเสียต่อทุกระบบของร่างกายมนุษย์และมีส่วนสำคัญที่นำไปสู่ 4 ใน 5 โรคที่ทำให้คนอเมริกันตายมากที่สุด คือ โรคหัวใจ มะเร็ง โรคระบบหายใจส่วนล่าง และโรคสมองขาดเลือด” รายงานระบุอีกว่า “ทุกขั้นตอนที่เกี่ยวกับถ่านหิน ไม่ว่า การทำเหมือง การขนส่ง การล้าง การเผาไหม้ และการกำจัดของเหลือจากการเผาคือขี้เถ้าล้วนมีผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์”
     
        นอกจากนี้ยังมีผลทำให้ทารกในครรภ์พัฒนาช้า ทำให้การเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่แปรปรวน
     
        กลุ่มพ่อค้าถ่านหินระดับโลกและ กฟผ.ได้ชูคำขวัญว่า “ถ่านหินสะอาด” ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะองค์ประกอบของถ่านหินมีมาตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อเผาก็เป็นไปกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์
     
        กฟผ. ได้อ้างถึงเทคโนโลยีสะอาดโดยมีเครื่องดักจับเขม่าควัน แต่สามารถดักจับได้ประมาณ 90 ถึง 99% เท่านั้น โดยปกติโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 800 เมกะวัตต์จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 4.7 ล้านตัน ลองคิดดูก็แล้วกันว่าที่เหลือจะมีจำนวนเท่าใด ปัจจุบันโรงไฟฟ้าถ่านหินในสหรัฐอเมริกาเองมีการติดตั้งเครื่องดับจับที่เรียกว่า Activated Carbon Injection เพียง 8% ของทั้งหมดเท่านั้น เพราะมันแพง
     
        อนึ่ง เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Carbon Capture and Storage ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า แต่ผู้สันทัดกรณีบอกว่ายังไม่สามารถจะติดตั้งได้ก่อนปี 2573 และจากรายงานของสำนักงานงบประมาณสภาสหรัฐฯ ระบุว่า หากติดอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นอีก 76% โดยสรุป เรื่องถ่านหินสะอาดจึงเป็นเรื่อง “ขี้หกทั้งเพ”
     
        นอกจากปัญหามลพิษทางอากาศแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้น้ำจืด การใช้น้ำหล่อเย็น และการระบายน้ำทิ้ง ดังตาราง

       4. ทางออกของปัญหามี แต่กลุ่มพ่อค้าไม่ยอม
     
        ถ้าเปรียบประชากรโลกเป็นแพะและพลังงานเป็นกองหญ้าซึ่งมีอยู่ 2 กอง แพะอยากจะกินหญ้าทั้งสองกองอย่างอิสระ แต่ไม่สามารถจะทำได้ เพราะเหมือนมีเชือกมาล่ามไว้ให้กินจากกองเดียวเท่านั้น
     
        กองหญ้าที่ฝูงแพะถูกล่ามให้กินก็คือ พลังงานฟอสซิล ซึ่งได้แก่ ปิโตรเลียมและถ่านหิน ซึ่งเป็นสินค้าที่พ่อค้าพลังงานสามารถผูกขาดได้ กองหญ้าที่แพะไม่สามารถมากัดกินได้ก็คือพลังงานหมุนเวียนซึ่งก็คือพลังงานที่เมื่อหมดแล้วก็สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ได้แก่ แสงแดด ลม ชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น
     
        เราถูกล้างสมองว่า พลังงานหมุนเวียนมีความไม่มั่นคง ลมไม่ดีบ้าง ต้นทุนบ้าง แต่จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาพบว่า นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา พลังงานแสงแดดมีต้นทุนถูกกว่าพลังงานนิวเคลียร์และนับวันจะถูกลงเรื่อยๆ โรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีราคาถูกก็เพราะเขาผลักต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ชุมชนเป็นผู้รับภาระแทน
     
        ในปี 2555 ประเทศเยอรมนีผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดและชีวมวล (ซึ่งเรามีมากกว่า) ได้ถึง 46% ของที่ประเทศไทยใช้ ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยในเรื่องความเป็นไปได้ ในเรื่องราคาก็ถูกลงอย่างที่กล่าวแล้ว
     
        โรงไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ปล่อยมลพิษ ไม่แย่งน้ำจืด ไม่ปล่อยน้ำเสีย ไม่ทำลายแหล่งประมง แถมชาวบ้านจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน ไม้ฟืนตามหัวไร่ปลายนา หรือค่าเช่าที่ดิน
     
        แต่ทำไมกระทรวงพลังงานจึงไม่เลือก?
ขอขอบคุณ 
 ประสาท มีแต้ม จากผู้จัดการออนไลน์ บทความ ! เนื้อหาเพิ่มเติม คลิก

หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินในแคนาดา

แคนาดา วางแผนหยุด..โรงไฟฟ้าถ่านหิน..
ข่าวสาร โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

25 พฤษภาคม 2558 12:34 น. (แก้ไขล่าสุด 25 พฤษภาคม 2558 12:44 น.)
       
       คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
       โดย…ประสาท  มีแต้ม
       
       ในขณะที่ประเทศไทยได้วางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นอีก 9 โรง ในอีก 21 ปีข้างหน้าตามแผนพีดีพี 2015 (ซึ่งเพิ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ) แต่จังหวัดออนตาริโอ (Ontario) ซึ่งมีประชากรเกือบ 40% ของประเทศแคนาดา กลับได้ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดอย่างถาวรตั้งแต่สิ้นปี 2557 เป็นต้นมา
      
       นับเป็นเขตการปกครองแรกในทวีปอเมริกาเหนือที่ปราศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินไปแล้ว (และน่าจะเป็นเขตปกครองแรกในโลกด้วย) เขาคิดอะไร และเขาทำได้อย่างไร แล้วทำไมประเทศไทยเราจึงมักจะทำอะไรที่สวนทางกับประเทศที่เขาพัฒนาแล้วอยู่เสมอๆ
      
       “มันไม่ใช่กรรม ไม่ใช่เวรเลยหรอกเธอจ๋า” แต่มันเป็นเพราะส่วนหนึ่งภาคประชาชนของเรายังอ่อนแอ ไม่รู้เรื่องรู้ราว และไม่สนใจปัญหาของสาธารณะเท่าที่ควร จึงเปิดโอกาสให้คนหยิบมือเดียวเขียนแผนพัฒนาเพื่อหาผลกำไรเข้าพกเข้าห่อให้พวกพ้องของตนเองเสมอมา โดยอ้างวาทกรรมง่ายๆ ที่ว่า “ถ่านหินสะอาด” เท่านั้นเอง
      
       ผมได้รับข่าวชิ้นนี้จากอีเมลของ Dr.John Farrell จาก Institute for Local Self-Reliance (ILSR สถาบันเพื่อความมั่นใจในตนเองของท้องถิ่น ซึ่งก่อตั้งในปี 2517 ใครสนใจก็สมัครเป็นสมาชิกได้ เขามีบทความทุกสัปดาห์ จะได้ช่วยกันนำมาเผยแพร่ต่อคนไทยครับ)
      
       ผู้ว่าราชการจังหวัดออนตาริโอ (เขาใช้คำว่า Premier of Ontario) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งได้เริ่มวางแผนที่จะยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดตั้งแต่ปี 2003 (ซึ่งขณะนั้นมีโรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 25%) ภายในปี 2014 เหตุผลสำคัญก็เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศที่ใหญ่ที่สุด
      
       ในปี 2003 จังหวัดออนตาริโอ มีสภาพอากาศที่มีหมอกควันหนาแน่นถึง 53 วันในหนึ่งปี โดยค่อยๆ ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 โรง โดยที่ 4 โรงแรกถูกปลดระวางไปในปี 2005 จนกระทั่งในปี 2013 จำนวนวันที่มีหมอกควันหนาแน่นลดลงเหลือเพียง 2 วันเท่านั้น
      
       “เราจะแทนที่โรงไฟฟ้าที่สกปรก ล้าสมัย และเป็นแหล่งมลพิษทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดด้วยพลังงานที่สะอาดกว่าคือ ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียน ซึ่งได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์” ข้อความดังกล่าวคือ ส่วนหนึ่งของคำหาเสียงของผู้นำการเลือกตั้งจากพรรคเสรีนิยม (Liberal) คือ คุณ DaltanMcGuinty ซึ่งได้ครองตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดติดต่อกันนาน 10 ปี จนถึงมกราคม 2013
        
อวสานโรงไฟฟ้าถ่านหิน : ในจังหวัดใหญ่ที่สุดของแคนาดา / ประสาท มีแต้ม
       
       ผู้ว่า DaltanMcGuinty ของจังหวัดที่มีประชากรเกือบ 14 ล้านคน ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่งไม่นานว่า “ทุกวันนี้ ชาวออนตาริโอทุกคนสามารถหายใจได้ง่ายกว่าเดิมเล็กน้อย” 
      
       “วันนี้เราเฉลิมฉลองให้แก่อนาคตที่สะอาดกว่าเพื่อรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะได้จากแหล่งพลังงานที่สะอาดกว่าของเรา” รัฐมนตรีพลังงาน Bob Chujiarelli กล่าวต่อผู้สื่อข่าว
      
       และเพื่อป้องกันไม่ให้โรงไฟฟ้าถ่านหินกลับมาอีกในอนาคต ทางจังหวัดจึงได้ออกกฎหมายที่ชื่อว่า “Ending Coal for Cleaner Air in Ontario” (อวสานของถ่านหินเพื่อคุณภาพอากาศที่สะอาดกว่าในออนตาริโอ)
      
       ตามแผนการของจังหวัดออนตาริโอได้มีเป้าหมายว่าในปี 2018 จะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 18% ของไฟฟ้าทั้งหมด (โดยที่โรงไฟฟ้าถ่านหินได้ปิดตัวหมดแล้วตั้งแต่ปี 2014) ในขณะที่ในปี 2014 ประเทศเยอรมนี ได้ใช้พลังงานหมุนเวียนจนทะลุ 27.3% ไปแล้ว ในจำนวนนี้มาจากพลังงานลมมากที่สุดกว่า 52,400 ล้านหน่วย (หรือเกือบ 1 ใน 3 ของที่คนไทยใช้ทั้งประเทศ)
      
       อย่างไรก็ตาม ทางองค์การการค้าโลก (WTO) ได้ออกมาโวยวายว่า แผนการของจังหวัดออนตาริโอดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อบริษัทต่างชาติ โดยอ้างว่าทางจังหวัดได้จ่ายเงินชดเชยให้แก่พลังงานสีเขียว นี่แหละครับองค์กร “โลกบาล” เขาคิด และทำอย่างนี้กัน
      
       แนวคิดที่เป็นจุดเด่นมากของโครงการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินไปสู่พลังงานหมุนเวียน คือ การซื้อพลังงานหมุนเวียนจากท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของจังหวัดแล้ว ยังมีการจ้างงานใหม่เกิดขึ้นกว่า 31,000 อัตรา ดังภาพที่ผมนำมาแนบไว้ด้วย
        
อวสานโรงไฟฟ้าถ่านหิน : ในจังหวัดใหญ่ที่สุดของแคนาดา / ประสาท มีแต้ม
       
       ผมขอหยุดเรื่องการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดออนตาริโอ ประเทศแคนาดา เอาไว้เพียงเท่านี้นะครับ แค่นี้ก็เป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยเราได้มากมายแล้ว เรามาดูแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือแผนพีดีพี 2015 ของประเทศไทยเรากันสักหน่อยนะครับ
        
อวสานโรงไฟฟ้าถ่านหิน : ในจังหวัดใหญ่ที่สุดของแคนาดา / ประสาท มีแต้ม
       
       ความแตกต่างที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ในขณะที่ชาวจังหวัดออนตาริโอ ได้วางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด 19 โรง ภายในเวลา 11-12 ปี แต่ประเทศไทยเรากำลังวางแผนที่จะสร้างเพิ่มขึ้นอีกถึง 9 โรง โดยแต่ละโรงจะมีอายุการใช้งานไปนานถึง 30 ปีเป็นอย่างน้อย ดังนั้น นับจากนี้ไปประมาณ 50-60 ปี ประเทศไทยเราจะยังไม่ปลอดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
      
       ทั้งๆ ที่ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนได้ลดต่ำลงมากแล้ว และเป็นพลังงานที่ไม่เป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าในระดับพื้นที่รอบๆ โรงไฟฟ้า และระดับโลก
      
       ผมได้ตั้งข้อสังเกตไว้ 2 ข้อ (ในแผ่นภาพ) คือ
      
       (1) ทั้งๆ ที่แผนดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติได้มีข้อผูกพันไว้เรียบร้อยแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร แต่ผมเข้าใจเอาเองว่า เป็นการทำสัญญาเอาไว้แล้ว แต่ต้องเลื่อนการก่อสร้างออกไป เพราะขณะนี้เรามีปริมาณสำรองสูงกว่าที่ควรจะเป็นเยอะมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแผนพีดีพีที่ผ่านๆ มามีการคาดการณ์ที่สูงเกินความจริงมาตลอด (หมายเหตุ เท่าที่ผมทราบ ไม่ว่าสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และแคนาดา มีการใช้ไฟฟ้าลดลง เพราะประชาชนรู้จักการประหยัด)
      
       ผมได้ลงพื้นที่ไปกับคณะอนุกรรมาธิการพลังงานทดแทนฯ ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ พบว่าในภาคอีสาน ผู้ผลิตไฟฟ้าจากไบโอก๊าซไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อขายได้ เพราะสายส่งเต็ม
      
       (2) พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานที่ประชาชนธรรมดาๆ ที่มีบ้านสามารถผลิตเพื่อใช้เอง ถ้ามีส่วนที่เหลือใช้ก็ขายสู่สายส่ง ก็ไม่สามารถทำได้
      
       นอกจากนี้ ก็ยังถูกเลื่อนไปอีก 10 ปีกว่าจะเปิดโอกาสให้ และเมื่อเปิดโอกาสแล้วก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้เฉพาะนายทุนใหญ่ที่เป็นโซลาร์ฟาร์ม
      
       ผมเคยเล่าครั้งหนึ่งแล้วว่า คุณกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้กล่าวที่มหาวิทยาลัยรังสิต (7 พ.ค.58) ว่า บริษัทธุรกิจเหมืองถ่านหินของไทยซึ่งไปมีสัมปทานเหมืองในต่างประเทศ กำลังไปลงทุนทำโซลาร์เซลล์ในญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่ประเทศญี่ปุ่นมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าบ้านเรา แต่ไม่ทำในเมืองไทยด้วยเหตุผลที่ท่านกษิต พูดว่า “เป็นที่รู้กันดีถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือ…” (ขอโทษผมจับความไม่ทันจริงๆ จึงไม่กล้าเขียน ทั้งๆ ที่รู้ความหมาย)
      
       มาวันนี้ เราได้ทราบแล้วนะครับว่า ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะแผนพีดีพี 2015 นี่เอง และถ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดได้ในเมืองไทย ก็บริษัทนี้นั่นแหละที่จะนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศมาใช้เมืองไทย
      
       ผมขอสรุปบทความนี้ด้วยการเสนอภาพ “สามเหลี่ยมอันตราย (Toxic Triangle)” ซึ่งสะท้อนสถานการณ์พลังงานในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และแผนพีดีพี 2015
      
       สามเหลี่ยมอันตรายประกอบด้วย 3 ด้าน ด้านแรก เพราะผู้วางแผนเห็นแก่ผลประโยชน์ระยะสั้น ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านอื่นๆ ไม่ว่าการท่องเที่ยว การประมง และสภาวะโลกร้อน ด้านที่สอง เพราะผู้สนับสนุนพลังงานฟอสซิลเพียงเพราะหวังผลกำไรของตนเองเท่านั้น ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนได้ก้าวหน้า และมีต้นทุนที่ถูกลงมาก ด้านที่สาม เป็นความเฉื่อยชาทางการเมืองของผู้บริหารประเทศ ที่เลือกรับฟังแต่เพียงบางกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ปฏิเสธเสียงของประชาชนซึ่งมีเหตุผล และมีตัวอย่างดีๆ ที่เป็นจริง เช่น กรณีจังหวัดออนตาริโอ เป็นต้น
ข่าสารจาก ASTV...ต้นฉบับ <<Click>>