วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การตรวจสอบคุณภาพอากาศ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีนาคม 2558

การตรวจสอบคุณภาพอากาศ เป็นเรื่องสำคัญในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ทำการสรุปผลการตรวจคุณภาพอากาศ เดือนมีนาคม 2558 ตามตาราง ครับ
 คุณภาพอากาศแม่เมาะเดือนมีนาคม 2558 พบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กยังเกินค่ามาตรฐาน 23 วัน
         รายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน 11 สถานี ซึ่งมีการตรวจวัดฝุ่นละอองรวม(TSP), ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซต์(NO2) โดยมีสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน(PM10) จำนวน 4 สถานี และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) ที่สถานีหลักบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ทั้งนี้การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองรวม(TSP) ในคาบ 24 ชั่วโมง, ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10) ในคาบ 24 ชั่วโมง,  ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในคาบ 24 ชั่วโมง, ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในคาบ 1 ชั่วโมง,  ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในคาบ 24 ชั่วโมง และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ในคาบ 1 ชั่วโมง ตามเกณฑ์มาตรฐานประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2544), ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2547), ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2552) และฉบับที่ 36 (พ.ศ.2553) ผลการตรวจวัดพบว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10) ในคาบ 24 ชั่วโมง วัดค่าสูงสุดได้ที่ 235 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ตรวจพบที่สถานีหลัก มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน 17 วัน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2547) ที่กำหนดให้มีค่าไม่เกิน 120 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
       นอกจากนั้นแล้ว กฟผ.ได้ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ความเข้มข้นเฉลี่ยในคาบเวลา 24 ชั่วโมง ตรวจวัดที่สถานีหลัก พบว่ามีค่าสูงสุดที่ 191 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ในขณะที่ค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 (พ.ศ.2553) กำหนดให้มีค่าไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. โดยพบว่าในเดือนมีนาคมนี้ มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน 23 วัน ทั้งนี้นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมได้จำแนกขนาดของฝุ่นละอองไว้ 3 กลุ่มหลักได้แก่ 1.กลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน เช่น เศษฝุ่นจากการก่อสร้างหรือการระเบิดหิน ละอองเกสรดอกไม้ เถ้าลอย 2.สำหรับกลุ่มฝุ่นละอองที่อยู่ในช่วง 2.5 – 10 ไมครอน จัดอยู่ในกลุ่มฝุ่นหยาบ (Coarse Particle) และ 3.กลุ่มที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือกลุ่มฝุ่นละเอียด (Fine Particle) ปัญหาอยู่ที่กลุ่มของฝุ่นที่เกิดจากไฟป่ามีสัดส่วนของกลุ่มฝุ่นละเอียดที่ค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือ ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วเหล่านี้สามารถเข้าสู่ปอดของเราได้อย่างง่ายดาย
         สำหรับดัชนีคุณภาพอากาศพื้นที่ปฏิบัติงาน, พื้นที่ชุมชน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี-มีผลกระทบต่อสุขภาพ พบมีฝุ่นขนาดเล็กเกินมาตรฐาน คนที่เป็น  โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจควรงดออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง ส่วนพื้นที่บ้านพักผู้ปฏิบัติงาน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ)

ลำดับ
ค่าที่ตรวจวัด
ค่ามาตรฐาน
(ไมโครกรัม/ ลบ.ม.)
ค่าที่วัดได้สูงสุด (ไมโครกรัม/ ลบ.ม.)
1
ฝุ่นละอองรวม (TSP) ในคาบ 24 ชั่วโมง
330
268
2
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10) ในคาบ 24 ชั่วโมง
120
235
3
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในคาบ 1 ชั่วโมง
780
136
4
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในคาบ 24 ชั่วโมง
300
13
5
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ในคาบ 1 ชั่วโมง
320
213




แหล่งข่าว : แผนกประชาสัมพันธ์
ขอขอบคุณข้อมูลจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ข้อมูลเพิ่มเติม click โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น